คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอาการคันๆ เกาๆ หรือมีผื่นแดงขึ้นตามตัวหรือบริเวณต่างๆ ตามร่างกาย ดูเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งพบอาการเหล่านี้ได้ในทุกเพศทุกวัย แต่หลายคนมักมองข้ามและไม่ใส่ใจโรคเหล่านี้มากนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะรุนแรงหรือเรื้อรังขึ้นได้ โรคผื่นผิวหนังอักเสบ ชนิด “ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ เสียสมาธิ สภาพจิตใจแย่ลง ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่มากก็น้อย
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ต้องพบเจอกับปัญหาผิวหน้าและผิวกาย เวลาเปลี่ยนเครื่องสำอางหรือใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ผิวมีอาการระคายเคือง มีผื่นเล็กๆ แดงๆ ขึ้น แสบๆคันๆ น่ารำคาญอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้คือ อาการของผื่นแพ้ของผิวหนังนั่นเอง
หมอผิวหนัง แนะนำว่า ผื่นแพ้ในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง อาการโดยทั่วไปทำให้ผู้ป่วยมีผื่นแดง คันไม่สบายตัว ผื่นแพ้ในเด็กมีหลายชนิดและสาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย
1.ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นผื่นแพ้เรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ปัจจุบันเชื่อว่าโรคน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน กรรมพันธุ์น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด โรคแพ้อากาศหรือผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง
2.คราบไขมันตามหนังศีรษะเด็ก หนังศีรษะที่มีคราบไขมันคล้ายรังแคติดอยู่เป็นผื่นแพ้อีกชนิดที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กๆ ถ้าเป็นมากอาจมีผื่นแดงบริเวณใบหน้า ซอกคอ รักแร้และในผ้าอ้อมได้ แต่เด็กจะไม่มีอาการคันหรือระคายเคือง
3.กลากน้ำนม เป็นโรคที่อาจเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของผื่นแพ้ทางผิวหนัง หรือเกี่ยวกับผิวหนังแห้งหลังจากถูกแสงแดดจัดเป็นเวลานาน จะเห็นผื่นผิวหนังเป็นวงกลมหรือวงรี สีขาวจางกว่าผิวหนังปกติ อาจมีขุยบางๆ ติดอยู่โดยไม่มีอาการใดๆ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า
การรักษาโดย หมอผิวหนัง
การดูแลรักษาโรคสามารถทำได้โดย
- การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ผื่นกำเริบเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้ปกครองควรดูแลผิวพื้นฐาน ดังนี้
- ไม่ควรอาบน้ำบ่อยๆ ไม่ควรใช้น้ำที่อุ่นหรือร้อนจนเกินไป และไม่ขัดถูผิวแรงๆ ขณะอาบน้ำ
- เลือกใช้สบู่อ่อนๆ ที่เหมาะสมกับ ผิวแพ้ง่าย ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยเกินไป ไม่ควรใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดหรือด่างรุนแรง
- เลือกใช้เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่ง ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ดี ไม่ควรใส่เสื้อขนสัตว์ ผ้าเนื้อหนาหยาบจนเกินไป เพื่อลดการอับเหงื่อที่ทำให้เกิดอาการคันและระคายเคือง
- ในทารกที่มีประวัติครอบครัวที่เสี่ยงต่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรแนะนำให้ดื่มนมมารดา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้นมวัว ไม่รับประทานอาหารที่ทราบแน่ชัดว่าทำให้ผื่นกำเริบ
- หมอผิวหนัง แนะนำว่าควรดูแลผิวหนังให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ทาหลังอาบน้ำทันที อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยเลือกสารให้ความชุ่มชื้นผิวหนังชนิดที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม เหมาะสมกับผิวผู้ป่วย
- ทายาลดอาการอักเสบ
3.1 ยาทาสเตียรอยด์ ใช้ทาเฉพาะตำแหน่งที่มีผื่นแดงอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรหยุด และควรอยู่ ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
3.2 ยาทากลุ่ม Topical Calcineurin Inhibitor (TCI) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ออกฤทธิ์ ต้านการอักเสบคล้ายยาทากลุ่มสเตียรอยด์ แนะนำให้ปรึกษาหมอผิวหนังก่อนใช้ยา - ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นตุ่มหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การดูแล แนะนำการทำความสะอาดแผล อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือกินร่วมด้วย
- ยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน จะช่วยลดอาการคัน เพราะการเกาจะทำให้ผื่นเป็นมากขึ้นหรือเกิดแผลถลอก และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้